คิดก่อนบริโภคเพื่อโลกที่ยั่งยืน

ทุกวันนี้เรามีการใช้ทรัพยากร และพลังงานอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน ทำงาน ซื้อของ เล่นมือถือ หรือนอนดูทีวีเฉยๆ ก็ล้วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น

 16-final

          หนึ่งในสิ่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้คนส่วนใหญ่ คือ การบริโภคอาหาร ที่ต้องทำทุกวัน และวันละหลายมื้อ หลายเมนู ซึ่งอาหารแต่ละชนิดจะมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่แตกต่างกัน ข้อมูลจาก Environmental Working Group; EWG (2011) กล่าวว่าในการผลิตอาหาร 1 กิโลกรัมนั้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณเท่าไร เช่น ข้าวปล่อย 2.7 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2), บล็อกโคลี่ 2 kgCO2, ไข่ 4.8 kgCO2, ไก่ 6.9 kgCO2, มะเขือเทศ 1.1 kgCO2, , หมู 12.1 kgCO2 เป็นต้น ซึ่งเนื้อสัตว์จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งเราสามารถปรับพฤติกรรมของเราได้ง่าย ๆ โดย

  1. การบริโภคและทานอาหารอย่างพอดี ไม่ซื้อเผื่อซึ่งอาจทำให้เกิดการเหลือทิ้ง
  2. วางแผนลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลง หรืองดทานเนื้อสัตว์บางมื้อ เพราะ 70% ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในโลกมาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  3. ลดการกินอาหารแปรรูปหรือมีขั้นตอนการผลิตมาก เพราะหากยิ่งมีขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตหลากหลายขั้นตอน ก็จะยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นตามไปด้วย
  4. ซื้ออาหารในท้องถิ่น, เลือกทานอาหารตามฤดูกาล และอาหารออร์แกนิค เพื่อลดพลังงานในการขนส่ง การเก็บรักษา รวมถึงลดการใช้สารเคมีที่เป็นเหตุให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

 

อ้างอิง

  • ศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2560). OPERATION LOW CARBON PROJECT 1 GREEN & CLEAN. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จำกัด.
  • ศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2560). OPERATION LOW CARBON PROJECT 2 SAVE & CHANGE. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จำกัด.